У нас вы можете посмотреть бесплатно แนวทางการป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน | ไฟทอปทอร่า | โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน | Phytophthora или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
แนวทางการป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน สำหรับมือใหม่ โรคเน่าโคนเน่าเกิดจาก เชื้อราไฟทอปทอร่า (Phytophthora palmivora (Buller) Butler) เป็นเชื้อราชั้นต่ำที่อาศัยอยู่ในดิน อาการของโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน อาการเน่าที่โคนต้น กิ่ง หรือที่ผิวเปลือกของต้นทุเรียน คล้ายมีคราบน้ำเกาะติดโดยสภาพที่ต้นทุเรียนจะเกิดจุดฉ่ำน้ำและมีน้ำเยิ้มออกมาเนื้อเยื่อและเปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ถ้าลุกลามจะทำให้ใบร่วงและ ต้นตายลง การแพร่ระบาดโรครากเน่าโคนเน่า เชื้อราไฟทอปทอร่าจะอาศัยอยู่ในดินโดยสปอร์ซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ ในสภาวะที่ความชื้นสูงและฝนตกชุก และมีอาหารเพียงพอ เชื้อราแพร่เข้าทำลายระบบราก ส่งผลให้รากเน่า และในสภาพอากาศที่มีความชื้นสุงต่อเนื่อง...เชื้อราแพร่เข้าทำลาย ที่โคนต้น กิ่งใหญ่ จนเป็นจุดฉ่ำน้ำและมีน้ำเยิ้มออกมาเนื้อเยื่อและเปลือก แนวทางการจัดการโรครากเน่าโคนเน่าสำหรับผู้ที่จะเริ่มปลูกทุเรียนใหม่ ปรับดินบริเวณหลุมปลูกด้วยปูนขาว ทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ ทำโคกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังและการระบายน้ำที่ดี รองก้นหลุมด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา หลังปลูกหว่านรอบโคนด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา สำหรับผู้ที่ปลูกแล้วแต่ยังไม่พบอาการ สามารถป้องกันด้วยหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์มารอบโคน อย่ารดน้ำแฉะจนน้ำท่วมขัง หากอาการโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตาย ให้ขุดออกไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้ใส่ปูนขาวโรยและตากดินไว้ระยะหนึ่ง จึงปลูกใหม่ทดแทน สำหรับการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ ไตรโคเดอร์ม่านั้นไม่ต้องกังวลว่าจะใช้มากเกินไป..หว่านให้รอบโคนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากเชื้อระบาดที่กิ่งหรือที่โคนต้น ให้ถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก (อย่าให้ถึงเนื้อเยื่อ)..ทาแผลด้วย สารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 80-100 กรัม/น้ำ 1 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทาบริเวณแผลทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง -หรือใช้สารฟอสโฟนิกแอซิด 40% SL ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยา ใช้อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อต้น แล้วฉีดเข้าลำต้นหรือกิ่งในบริเวณตรงข้ามอาการโรค หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค และหากมีการระบาดหนักจนใบเริ่มเหลือง ซีด หลุดร่วง ใช้สารฟอสโฟนิก แอซิด 40% SL ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยาฉีดเข้าลำต้นหรือกิ่งในบริเวณตรงข้ามอาการของโรค หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อต้น หรือราดดินด้วยสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ใช้สลับกับสารเมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร +++++++++++++++++++ facebook : / konkaset89