У нас вы можете посмотреть бесплатно ๑ เดียวที่ทหารฝรั่งเศสสยบยอมก้มกราบ! สมเด็จลุน-สำเร็จลุน บรมครูผู้ทรงอภิญญาแห่ง นครจำปาสัก สปป. ลาว или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
๑ เดียวที่ทหารฝรั่งเศสสยบยอมก้มกราบ!... สมเด็จลุน-สำเร็จลุน บรมครูผู้ทรงอภิญญาแห่ง นครจำปาสัก สปป. ลาว • ๑ เดียวที่ทหารฝรั่งเศสสยบยอมก้มกราบ! ... ---------/////--------- สมเด็จลุน-สำเร็จ พระผู้ทรงอภิญญาแห่ง นครจำปาสัก มีเรื่องเล่าว่า มีพระเฒ่าองค์หนึ่งได้เคยเข้าไปทดสอบวิชากับหลวงปู่ศุข พอพระเฒ่าเข้าไปถึง หลวงปู่ศุขก็เอ่ยถามว่า “ท่านมาจากที่ไหนครับ” พระเฒ่าเอ่ยตอบมาว่า “ผมมาจากนครเวียงจันทร์ครับ” หลวงปู่ศุขถามต่อไปว่า “แล้วท่านมีภารกิจอันใดให้ผมรับใช้ครับ” พระเฒ่าตอบมาว่า “กระผมอยากรู้ว่าสมภารเจ้าแห่งวัดมะขามเฒ่าเก่งจริงดังที่เขาเลื่องลือไหม” พอหลวงปู่ศุขฟังจบท่านก็หันไปรูดใบมะขามเสกพร้อมตอบไปว่า “ผมขอโทษนะครับ” หลวงปู่ศุขก็ได้ขว้างใบมะขามออกมา กลายเป็นต่อและแตน บินพุ่งเข้าใส่พระองค์นั้น พระเฒ่าองค์นั้นได้ยกมือขึ้นรับต่อและแตน แทนที่ต่อและแตนจะบินเข้าไปต่อยพระเฒ่า แต่กลับบินเข้าไปอยู่ในมือและกลายเป็นใบมะขามเหมือนเดิม หลวงปู่ศุขเลยเอ่ยถามพระเฒ่าว่า “ไม่ทราบว่าท่านเป็นใคร โปรดเมตตาต่อข้ากระผมด้วยครับ” พระเฒ่าตอบด้วยความเคารพเช่นกันว่า “กระผมคือสมเด็จลุนครับ” หลวงปู่ศุขเลยพนมมือทำความเคารพและกล่าวไปว่า “กระผมได้ยินแต่ชื่อเสียงพึ่งเห็นตัวจริงวันนี้นี่เอง เหมาะสมที่ได้ชื่อว่าสมเด็จลุนจริงๆ” จากนี้ไปจะได้นำเสนอประวัติของสมเด็จลุน ให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ศึกษา เพื่อทำความรู้จัก ซึ่งการ เขียน ประวัติในครั้งนี้จะเป็นการพลิกประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ เพราะหลวงพ่อภรังสีได้สอบถามจาก หลวงปู่สมเด็จ ลุนโดยตรง ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจจะแตกต่างจากข้อมูลทั่ว ๆ ไป ที่พุทธศาสนิกชนเคยได้รับทราบมาก่อน หลวงปู่สมเด็จลุน ได้ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ที่บ้านหนองไฮท่า ตำบลเวินไซ เมืองโพนทอง แขวง จำปาศักดิ์ ประเทศลาว โดยเป็นบุตรของ พ่อบุญเลิศ แม่กองศรี สว่างวงศ์ และท่านมีลักษณะพิเศษ จากคนทั่วไปคือ ท่านอยู่ในครรภ์ของมารดาสิบเดือนเศษ และเวลาคลอดก็คลอดง่ายไม่เจ็บปวดเหมือนคลอดลูก คนทั่วไป พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ว่า“ท้าวลุน” เมื่อเป็นเด็กนั้นท้าวลุนมีอุปนิสัยเป็นคนเจ้าระเบียบ มาตั้งแต่เด็ก เป็นคน ละเอียดรอบคอบ เมื่อเจริญวัยขึ้นมาก็ได้ศึกษาเล่าเรียนและช่วยเหลือครอบครัว พอมาอายุได้ ๑๒ ปี บิดามารดาพิจารณาเห็นว่าท้าวลุนมีอุปนิสัยน้อมไปในบรรพชา จึงได้พาไปบรรพชา เป็นสามเณรที่วัดบ้านหนองไฮท่า เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วสาม เณรลุนก็มีลักษณะต่างจากสามเณรทั่ว ๆ ไป กล่าว คือท่านมีความจำเป็นเลิศทั้ง ๆ ที่ไม่ค่อยอ่านหนังสือแต่ก็สามารถท่องจำบทสวดมนต์ต่าง ๆ ได้ สามเณรลุน ได้ไปร่วมงานศพของพ่อท่านนาโหล่ง ซึ่งเป็นพระที่มีอภิญญาโด่งดังมากในสมัยนั้น แล้วท่านก็ไปดูศพของพ่อ ท่านนาโหล่ง จึงมองเห็นคัมภีร์ก้อม (หนังสือใบลานผูกเล็ก ๆ) หนีบอยู่ที่รักแร้ สามเณรลุนมีความรู้สึกว่า พ่อท่าน นาโหล่งยิ้มให้แล้วบอกให้ท่านหยิบเอาหนังสือไป ท่านก็ยกมือขึ้นไหว้แล้วรีบดึงเอาหนังสือนั้นไป จากนั้นสามเณร ลุนก็หายตัวไปโดยไม่มีใครทราบ ช่วงที่หายไปนั่นเองท่านได้ไปศึกษาวิชาจากฤาษีพระยาจักรสรวง จนสำเร็จวิชา แล้วจึงกลับมาที่วัดบ้านเวินไซ อีกครั้ง จากนั้นท่านก็อยู่ประจำที่นั้นตลอดมา จนอายุครบอุปสมบทจึงได้ เมื่อ อายุ ๒๐ ปี ที่วัดนาคนิมิต หลวงพระบางโดยมี พ่อถ่านจันที อคฺคมโน เป็นพระอุปัชฌาย์ พ่อถ่าน หลวง ปุณฺณวงฺโส เป็นพระกรรมวาจา พ่อถ่านก้อม โสคมโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ประจำอยู่ที่วัดเวินไซ หลวงปู่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยมาก มีความรู้แตก ฉานในพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี มุ่งเน้นไปในทางปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากหลวงปู่มีความแตกฉานในทุก ๆ ศาสตร์ จึงได้แต่งตำราเกี่ยวกับวิชาอาคม ตำรายาสมุนไพร และตำราอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ส่วนเรื่อง อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ของหลวงปู่นั้นมีการกล่าวถึงกันมากมาย มีตำนานเรื่องเล่าของท่านสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ หลวงปู่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่สมเด็จพระมหาญาณเถระ กตปุญฺโญ และอยู่เป็นที่พึ่งของลูกหลาน รวมสิริอายุได้ ๑๐๘ ปี จึงได้มรณภาพ ยังความเศร้าโศกเสียใจให้เกิดขึ้นแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย คณะศิษยา นุศิษย์ได้จัดสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิของหลวงปู่ไว้ ที่วัดบ้านเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ส่วน ที่ตั้งเมรุเผาศพของท่านนั้นได้เกิดเป็นต้นโพธิ์ใหญ่ขึ้น ๕ ต้น ระยะหลังได้จัดตั้งวัดขึ้นอีกชื่อว่า วัดโพธิ์เวินไซ มาจนกระทั่งทุกวันนี้