У нас вы можете посмотреть бесплатно เรื่องลึกลับทางการแพทย์ : ปฐมบท 10 ปีก่อน นพ.อาจินต์ จะพบหนู พิมพวดี или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
เรื่องลึกลับทางการแพทย์ : ปฐมบท 10 ปีก่อน นพ.อาจินต์ จะพบหนู พิมพวดี เมื่อครั้งคุณหลวงสนั่นวรเวช หัวหน้ากองโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค ไปตรวจราชการที่โรงพยาบาลภูเก็ต (โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต) เห็นความเป็นอยู่ของคุณหมออาจินต์และแพทย์ ซึ่งได้เพิ่มมาอีกคนคือ แพทย์หญิงทวีศิริ บำรุงสวัสดิ์ ซึ่งต้องฝากให้อาศัยอยู่กับคหบดีท่านหนึ่งในเมือง คุณหลวงสนั่นฯ เลยรับปากจะหางบประมาณมาสร้างบ้านพักแพทย์ให้ที่โรงพยาบาลนี้ ประจวบกับท่านเจ้าคุณบริรักษ์เวชการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขบินไปตรวจราชการที่ภูเก็ตด้วย เมื่อเห็นสภาพของโรงพยาบาล ก็สั่งให้ทางกรมการแพทย์จัดสรรงบประมาณนี้อย่างรีบด่วน และอีกไม่กี่เดือนต่อมา ทางโรงพยาบาลภูเก็ตก็ได้งบประมาณสร้างบ้านพักแพทย์สำหรับผู้อำนวยการ บ้านพักแพทย์ประจำโรงพยาบาล เรือนคนงาน ซ่อมแซมหอพักผู้ป่วย โรงพยาบาลภูเก็ตก็ดูดีขึ้นตามลำดับ โดยขยายตึกตรวจโรคภายนอก ห้องผ่าตัด ซ่อมหอพักผู้ป่วย บ้านใหม่ของผู้อำนวยการ สถานที่จะก่อสร้างบ้านพักผู้อำนวยการนั้น มีที่อยู่แห่งเดียวที่เหมาะสม คือ ด้านหน้าสุดของโรงพยาบาล ชิดกับขอบรั้วทางทิศตะวันออก เจ้าหน้าที่กรมและส่วนจังหวัดเห็นว่าเหมาะสมที่สุด เพราะเป็นที่ว่าง มีเนินเตี้ยๆ ฝนตกมากน้ำก็ไม่ท่วม การสร้างบ้านพักในความควบคุมของจังหวัดจึงได้เริ่มขึ้น โดยสร้างเป็นบ้านใต้ถุนสูง แบบบ้านพักแพทย์ของกรมการแพทย์ทั่วไป ใต้ถุนบ้านเทปูนซีเมนต์หนาเอาไว้สำหรับจอดรถ การสร้างใช้เวลาไม่เกินหกเดือนก็เรียบร้อย หน้าบ้านมีสนามแบดมินตันเอาไว้ออกกำลังกาย และสมานสามัคคีระหว่างข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน แต่บ้านนี้ไม่ได้ทาสีเพราะงบประมาณหมดเสียก่อน พอบ้านเสร็จ คุณหมออาจินต์ก็ย้ายครอบครัวมาอยู่และนิมนต์พระวัดโฆษิตฯ มาทำบุญขึ้นบ้านใหม่ คุณหมอให้ภรรยาและบุตรอยู่ห้องต่างหาก ส่วนคุณหมอนอนอีกห้องหนึ่ง เพราะถูกปลุกในยามดึกเสมอ เกรงภรรยาและบุตรจะพลอยต้องตื่นไปด้วย อยู่ ๆ เดินไม่ได้ ! และแล้วเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดฝันก็อุบัติขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คุณหมออาจินต์เล่าว่า “หนึ่งปีให้หลัง หรือประมาณนั้น วันร้ายคืนร้ายก็มาเยือนผมอีก กล่าวคือเช้าวันหนึ่ง ผมตื่นนอนแล้ว ลุกขึ้นจะไปห้องน้ำตามปกติ แล้วจะเดินย่องไปดูลูกสาวคนแรกที่นอนอยู่กับแม่เขาอีกห้องหนึ่ง พอลุกขึ้นก็เซหกล้ม เอามือยันไว้ นึกว่างัวเงีย เอาใหม่ ขยี้หู ขยี้ตาเสียหน่อยแล้วลุกขึ้นจะเดินไปห้องลูก ก็ล้มอีก ทีนี้ดังโครมใหญ่ ! คุณแม่กับภรรยาผมก็ออกมาดู ถามว่า เป็นอะไร ? หน้ามืดรึ ? ผมก็บอกว่า ไม่เป็นไร แต่ขาสองข้างทำไมไม่มีแรงจะยืน ผมลองยันตัวขึ้นจะยืนก็ล้มอีก ทีนี้รู้เลยว่า ขาทั้งสองของผม ตั้งแต่บั้นเอวลงไปเป็นอัมพฤกษ์เสียแล้ว ! โดยไม่รู้สาเหตุ ไม่รู้จริงๆ เมื่อวานเย็นนี้ก็ยังเล่นแบดมินตันกับเพื่อนข้าราชการในจังหวัดที่โรงพยาบาล ก่อนนอนก็ยังดีๆ พอเช้าขึ้นมาทำไมเป็นอย่างนี้ ผมก็ให้เขาไปเชิญคุณหมอพิทักษ์และคุณหมอทวีศิริมาช่วยตรวจอาการและระบบประสาทว่าเป็นอะไรที่ไหน ผลออกมาว่า ความรู้สึกส่วนล่างตั้งแต่สะโพกลงไปเสีย รวมทั้งประสาทสำหรับการเคลื่อนไหวด้วย เรื่องมันก็ใหญ่ ต่อไปอัมพาตก็จะเล่นงานผม สองหมอก็ช่วยกันวางยาฉีดหยูกฉีดยา จนวันที่สองก็ไม่ทุเลาขึ้น จึงรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งท่านกรุณามาเยี่ยม แล้วออกไปปรึกษากับคุณหมอพิทักษ์อยู่พักใหญ่ ท่านก็กลับ ผมก็เป็นห่วงงาน ห่วงคนไข้ คุณหมอพิทักษ์ท่านชำนาญทางโรคเด็ก คุณหมอทวีศิริก็สำเร็จใหม่ ยังต้องการพี่เลี้ยง ยังต้องการคำแนะนำ ผมก็มานอนแซ่วอยู่เฉย ๆ ยกขาได้ หยิกเจ็บแต่ไม่มีแรงจะยืน แล้วจะไปทำงานได้อย่างไร ? อีกสองวันต่อมา ก็ได้รับโทรเลขจากคุณหลวงนิตย์เวชวิศิษฐ์ อธิบดีกรมการแพทย์ว่า “ให้ขึ้นไปกรุงเทพฯ ด่วนที่สุด จัดรถพยาบาลไว้รับที่ดอนเมืองแล้ว อดีตผู้อำนวยการป่วยทุกคน คุณหมออาจินต์เล่าต่อไปว่า “ผมเข้าใจว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านขุนจรรยาวิเศษและคุณหมอพิทักษ์ที่ออกมาหารือกันนั้นก็คือจะส่งตัวผมไปกรุงเทพฯ โดยโทรเลขบอกมาทางกรมการแพทย์ ท่านอธิบดีในขณะนั้นท่านห่วงมาก เพราะที่ภูเก็ตนี่แพทย์ผู้อำนวยการทุกคนมีอาการป่วยแปลกๆ ดังนี้ หมอฝรั่งคนแรกที่มาจากปีนัง ป่วยเป็นโรคเส้นโลหิตแตกเป็นอัมพฤกษ์ เจ้าคุณรัษฏาฯ ส่งตัวกลับไปปีนัง คนต่อมา คุณหลวงสนั่นวรเวช หัวหน้ากองโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค ตอนหลังเป็นรองอธิบดี ท่านเคยเป็นผู้อำนวยการที่นี่ เกิดอาเจียนเป็นโลหิตช็อคไป ในที่สุดก็ต้องกลับมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ คุณพระเวชฯ ผมจำสร้อยไม่ได้ (พระเวชกิจพิศาล (เจิม ดิลกแพทย์)) เป็นบิดาของนายแพทย์จินดา ดิลกแพทย์ เพื่อนผมคนหนึ่งซึ่งเพิ่งตายที่ภูเก็ต ท่านขุนทำนุกฯ สองท่านนี้เป็นอัมพฤกษ์ คุณหมอเก้า ณ ระนอง ชื่อเดิม เบี่ยนเก้า จบแพทย์จากอังกฤษ ก็ป่วยหนักโดยไม่รู้สาเหตุ ต่อมา ร.ท.ปอง ว่องพยาบาล ก็อัมพฤกษ์ ขาเป๋ เดินกระโผลกกระเผลกป่านนี้อาจจะเสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาก็ผม ทำงานได้ปีเดียวก็เกิดอัมพฤกษ์ไปเฉย ๆ ดังนี้ ผู้อำนวยการถัดไปจากผมก็คือ คุณหมอสนอง กาญจนาลัย รายนี้อยู่เฉยๆ ก็อาเจียนเป็นโลหิตฟุบไป! ต้องส่งตัวกลับกรุงเทพฯ อีก ตอนนี้คงเกษียณแล้ว ก่อนเกษียณท่านเป็นแพทย์ใหญ่ประจำจังหวัด แล้วเลยมีครอบครัวจนบัดนี้ ตกลงผมก็นอนเปลขึ้นเครื่องบินมากรุงเทพฯ ตามคำสั่งของกรมการแพทย์ พอเดินทางถึงดอนเมือง รถพยาบาลที่คุณหลวงนิตย์ฯ ท่านสั่งไว้ ก็รีบไปรับตัวผมเข้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันที