У нас вы можете посмотреть бесплатно อาหารช่วยชะลอวัย กินแบบไหนให้แก่ช้า или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
กินอย่างไรให้อายุยืน ดูอ่อนกว่าวัย และลดเสี่ยงโรค กินน้อยแก่ช้า กินมากแก่ไว เมื่ออายุมากขึ้น การใช้พลังงานของร่างกายจะไม่ได้ต้องการอาหารเยอะมาก แต่ก็ต้องมีพลังงานเพียงพอ สังเกตได้จากผู้สูงอายุที่อายุยืนเป็นร้อยปีขึ้นไป มักจะมีรูปร่างไม่ใหญ่ น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่อ้วน และถ้าหากเรากินให้น้อยลง หรือทำ IF (Intermittent Fasting) ก็จะทำให้ร่างกายเกิดกระบวนการ Autophagy คือเกิดการเก็บกินเซลล์ที่ตายแล้ว เซลล์ที่ไม่ดี (Cell Death) ซึ่งจะทำให้สุขภาพดี มีอายุยืนยาวขึ้นได้ น้ำตาลคือยาพิษ ยิ่งกินยิ่งแก่ เป็นคำเปรียบเปรยให้เข้าใจง่าย นั่นก็คือ น้ำตาลโมเลกุลเหนียวจะไปเกาะตามเซลล์ต่างๆ ไปเกาะโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกาย หรือเกาะคอลลาเจน ทำให้ผิวเหี่ยวง่าย และสามารถเกาะโปรตีนสำคัญของสมอง เป็นการเพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้ เลือกกินแป้ง แป้งที่ดี คือแป้งไม่ขัดใย และข้าวไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี มัน เผือก ฟักทอง ธัญพืชต่างๆ แครอท ซึ่งอาหารกลุ่มนี้คือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbohydrate) ที่จะค่อยๆ ปล่อยพลังงานอย่างช้าๆ ในระหว่างวัน ทำให้รู้สึกอยู่ท้อง อิ่มนาน หลีกเลี่ยงผลไม้น้ำตาลสูง แม้ผลไม้จะมีวิตามินและแร่ธาตุก็จริง แต่ควรเลือกผลไม้ที่ไม่หวานเกินไป เพราะผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง (High Glycemic index) เช่น อินทผลัม (GI 103) แตงโม สับปะรด (GI 66) มะม่วง (GI 56) จะส่งผลให้มีภาวะการอักเสบในร่างกาย (Inflammation) ควรเลือกผลไม้ชนิดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ไม่หวานมาก (Low Glycemic Index) เช่น อะโวคาโด (GI 15) เชอร์รี (GI 22) แอปเปิล (GI 38) สตรอว์เบอร์รี (GI 40) เลือกกินผักผลไม้หลากสี เพราะผลไม้ต่างสีกันจะได้สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และวิตามินที่แตกต่างกัน เช่น มะเขือม่วง สีม่วงจะให้สาร Anthocyanin เป็นตัวปกป้องเม็ดสีผิว ผิวจะแข็งแรง สีแดงจากมะเขือเทศจะได้ Lycopene โดยมะเขือเทศต้องผ่านความร้อนถึงจะมี Lycopene ออกมา ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย อีกทั้ง Carotenoid ได้จาก ผักสีเหลือง แครอท ฟักทอง และ Alpha-carotene ได้จากผักสีเขียว โปรตีนที่ดี คือ โปรตีนจากปลา ไข่ ถั่ว เห็ด สาหร่าย สำหรับไข่ไก่ หากรับประทานให้ถูกวิธีเป็นต้ม นึ่ง ลวก ไม่ทอด ไม่ผัดน้ำมันเยอะ ก็จะไม่ส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายสูงขึ้น ไม่ควรกินอาหารซ้ำๆ เพราะเราจะได้ Nutrient หรือสารอาหารเดิมๆ ได้วิตามินซ้ำๆ สารอาหารไม่พอเพียง ขาดวิตามินที่จำเป็นอื่นๆ เลือกกินไขมันดี เช่น อะโวคาโด Olive oil และถั่วต่างๆ กินอาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เพื่อให้เซลล์ทำงานได้ง่ายขึ้น เช่น ผักใบเขียว เลี่ยงอาหารแปรรูป รวมถึงสารทดแทนความหวาน เพราะจะไปเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลได้ถึง 49% ในการบริโภคอาหารเพื่อการมีสุขภาพที่ดี นอกจากบริโภคตามหลัก 5 หมู่แล้ว สำนักโภชนาการกรมอนามัยได้มีข้อแนะนำการบริโภคตามโภชนาการบัญญัติ 9 ประการ ดังนี้ 1. กินอาการให้ครบ 5 หมู่ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวเอง 2. กินข้าวเป็นหลัก และสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ 3. กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ 4. กินเนื้อปลา เนื้อสัตว์ ไข่ และถั่วเป็นประจำ 5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย 6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอเหมาะ 7. หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด และเผ็ด 8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน 9. งดหรือลด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์