У нас вы можете посмотреть бесплатно ชัวร์ก่อนแชร์ : ต้นไม้ดักฝุ่น และสารพิษ จริงหรือ ? или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
🎯 ตรวจสอบกับ นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ----------------------------------------------------- 📌 สรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ ✅ ให้เลือกชนิดของต้นไม้ให้เกิดความเหมาะสม สำหรับห้องหรือบ้านของตัวเอง ทั้งในแง่ของการลดสารพิษและการดักฝุ่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องร่วมกับการป้องกันตน ในวิธีการอื่นที่เหมาะสม Q : ต้นไม้ดักฝุ่น ดูดสารพิษ มีจริงหรือ ? A : เรื่องนี้มีจริง ต้นไม้มีหลากหลายกลุ่ม สามารถดักฝุ่นได้ อีกกลุ่มหนึ่งดักพวกสารพิษ โดยเฉพาะไอระเหยจากเฟอร์นิเจอร์ จากอะไรต่าง ๆ ซึ่งน่าสนใจจะนำมาใช้ในครัวเรือนของเรา แต่ก่อนจะลงรายละเอียด ว่าต้นไม้แบบไหน ปลูกตรงไหน ต้องทราบเงื่อนไขข้อจำกัดก่อน Q : ประสิทธิภาพสามารถที่จะป้องกันได้ทั้งหมดไหม ? A : คงไม่ได้ถึงขนาดนั้น แต่เป็นการลดภาระฝุ่นละออง ที่จะมีอยู่ส่วนหนึ่ง แต่ถ้าหากว่ามีฝุ่นละอองจำนวนค่อนข้างมาก ต้องทำให้ห้องปราศจากฝุ่น ดังนั้น ต้นไม้คือตัวช่วยตามธรรมชาติ ที่นอกจากจะมีส่วนทำให้อากาศดีขึ้น ยังให้คุณค่าทางใจและสายตาแก่เราด้วย จะช่วยแบ่งเบาภาระของการรับฝุ่นละอองเหล่านี้ไปเต็ม ๆ แต่ถ้าเรามีกำลังซื้อ เราอาจจะซื้อเครื่องฟอกอากาศ อันนั้นก็เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่ง แต่ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป ต้นไม้เหล่านี้ทั้งจะให้ออกซิเจนกับเรา แล้วก็เก็บฝุ่น ช่วยเราด้วยในอีกทางหนึ่ง Q : กลุ่มแรกต้นไม้ดักฝุ่น ? A : กลุ่มที่ดักฝุ่นอาจใช้ความสากของตัวใบ ก็จะมีใบเรียวเล็กแล้วก็มีลักษณะเป็นขน แล้วก็มีความเหนียวอยู่ในตัว อีกส่วนหนึ่งก็คือลักษณะของตัวกิ่ง ตัวลำต้นก็จะมีลักษณะของการสอดสลับซับซ้อนกัน ความเป็นไม้เลื้อยด้วยส่วนหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ต้นไม้ที่ดักฝุ่นก็จะเป็นพวก สนฉัตร สนทะเล หรือว่าพวงคราม การเวก ไทรเกาหลี คริสติน่า ต้นโมก หรือว่าทองอุไร ตะขบ ศรีตรัง แปรงล้างขวด อโศกอินเดีย หรือหางนกยูงไทย หรือแม้กระทั่งนนทรี ซึ่งก็เป็นทั้งไม้เล็ก ๆ แล้วก็ไม้ขนาดใหญ่ Q : ต้นไม้ดูดสารพิษ ? A : ตัวดักสารพิษเองจริง ๆ ด้วยความที่ตัวใบที่ค่อนข้างหนานิดหนึ่ง แล้วก็มีคุณสมบัติในการดึงเอาบรรดาสารระเหยต่าง ๆ เข้าไปสะสมในตัวใบ อย่างกรณีของพลูด่าง ในเรื่องของไทรใบเล็ก หรือว่าในเรื่องของวาสนา อธิษฐาน หรือว่าเบญจมาศ ประกายเงิน หรือว่าลิ้นมังกร อย่างกรณีของลิ้นมังกร พิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เขาจะคายออกซิเจนในเวลากลางคืน ซึ่งตรงนี้อาจจะเหมาะสำหรับ ในการที่จะปลูกในที่ห้องนอน Q : ปลูกต้นไหน มากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของที่อยู่อาศัยเรา ? A : กรณีที่เรามีพื้นที่บริเวณบ้านแล้วบ้านเราอยู่ริมถนน ถ้าเราใช้ไม้ที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้นลักษณะกรณีของศรีตรัง หรือนนทรี อันนี้จะเป็นตัวที่เหมาะได้ทั้งร่มเงาด้วย แล้วก็ดักฝุ่นด้วย แต่ถ้าเราไม่มีพื้นที่ลักษณะแบบนี้ เรามีห้องคอนโดมิเนียม เราอาจจะมีราวระเบียงบางส่วน เราอาจจะสามารถใช้พวกไม้เล็ก ๆ สนฉัตรเล็ก ๆ หรือว่าแปรงล้างขวดอะไรต่าง ๆ พวกนี้ เข้าไปใช้ประโยชน์ตรงนั้นได้ Q : อีกปัจจัยสำคัญคือการตรวจค่าฝุ่นเป็นประจำ ? A : ตรวจว่าพื้นที่แถวที่เราอยู่อาศัย มีฝุ่นมากน้อยในระดับใด หากฝุ่นมาก หรือผู้ที่ต้องอยู่อาศัยนั้นร่างกายไม่แข็งแรง แค่ต้นไม้อาจไม่เพียงพอ กรมอนามัยแนะให้เราเตรียม “ห้องปลอดฝุ่น” อย่างน้อยสักห้องหนึ่งในบ้าน เอาไว้เข้าไปอยู่ เมื่อฝุ่นภายนอกมากถึงระดับส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่งมี 3 หลักการ คือ 1 กันไม่ให้ฝุ่นเข้ามาเพิ่ม 2 ไล่ไม่ให้ฝุ่นอยู่ และ 3 ไม่ทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่น วางระบบที่จะไม่ให้มีฝุ่นเข้าไปภายในตัวบ้าน หรือว่าภายในตัวห้องตรงนั้นได้ โดยเลือกห้องที่ห่างจากแหล่งกำเนิดฝุ่น และมีประตูหน้าต่างน้อยที่สุด หรือมีเครื่องปรับอากาศ จากนั้นนำของใช้ที่เป็นแหล่งสะสมฝุ่นออกไป แล้วทำความสะอาดห้อง และทำการปิดช่องต่าง ๆ ที่อากาศภายนอกจะเข้ามาได้ เพียงเท่านี้ Q : ถ้าจำเป็นต้องใช้ห้องที่ปลอดฝุ่นได้มากขึ้น ? A : อาจตั้งเครื่องฟอกอากาศอย่างเหมาะสม หรืออาจไปถึงขั้นทำระบบความดันอากาศ ให้ห้องเป็นแรงดันบวก ฟอกอากาศขาเข้า และใช้อากาศนั้น ดันฝุ่นออกไปจากห้อง ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากคลิปนี้ของกรมอนามัย ระบบการถ่ายเทอากาศของตัวห้องเอง เลือกพิจารณาว่าต้องเป็นด้านที่เราสามารถที่จะระบายลม โดยเฉพาะเรื่องของการดูดอากาศออกไปจากห้องได้ เพราะว่าทิศทางลม แล้วก็การจราจรที่อยู่ข้าง ๆ อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ดึงฝุ่นละอองเข้าไป และที่สำคัญไม่แพ้กันนั้น คือการดูแลตนเอง ใส่ใจสุขภาพอนามัย ต้องดูแลสุขภาพของตัวเอง Q : กรณีของวันไหน เวลาไหน ที่เราต้องออกไปทำงาน ? A : ออกกลางแจ้ง สัมผัสกับฝุ่นละออง เราก็ใช้หน้ากาก ถ้าหากว่าสัมผัสฝุ่นละอองที่ค่อนข้างจะสูง ค่า PM 2.5 สูงขึ้นมากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สามารถที่จะใช้ N95 เวลาที่จะกิจกรรมกลางแจ้งได้ Q : สรุปแล้วเรื่องปลูกต้นไม้ดักฝุ่นดูดสารพิษเป็นอย่างไร ? A : จริง สามารถแชร์ต่อได้ ให้เลือกชนิดของต้นไม้ให้เกิดความเหมาะสม สำหรับห้องของตัวเอง หรือว่าบ้านของตัวเอง ทั้งในแง่ของการลดสารพิษแล้วก็การดักฝุ่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องร่วมกับการป้องกันตัวเอง ในวิธีการอื่นที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันด้วย 🎯 การดูแลสุขภาพที่ได้ผล ยังคงต้องดูแลทุกอย่างโดยรวม และเข้าใจให้ถูกต้อง 🎯 👉 คลิปวิดีโอ วิธีจัดทำห้องปลอดฝุ่น โดย กรมอนามัย https://i.sure.guru/3ozzNJ5 👉 ดาวน์โหลด หนังสือ “ไม้ประดับดูดสารพิษ” ของกรมอนามัย https://i.sure.guru/2G6MKJ9 #ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare ----------------------------------------------------- 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ "ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์" 🎯 LINE | @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshare FB | / sureandshare Twitter | / sureandshare IG | / sureandshare TikTok | / sureandshare ข่าวค่ำ | สำนักข่าวไทย อสมท | ช่อง 9 MCOT HD เลข 30 | http://www.tnamcot.com