У нас вы можете посмотреть бесплатно "ปาฏลิคามิยวรรค-นิพพาน (ฌาน-ญาณ)" 29/10/62 สาย-ก่อนเที่ยง или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
บรรยาย ณ ศาลาธรรม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 29/10/62 สาย-ก่อนเที่ยง อ่านและดาวน์โหลดเอกสารประกอบคำบรรยาย "ปาฏลิคามิยวรรค" https://memoir.kilophyll.com/2020/08/... เนื้อหาโดยย่อ :- คำถามที่ไม่มีคำตอบ: ดินน้ำลมไฟ สิ้นสุดที่ใด คำถามที่มีคำตอบ: ดินน้ำลมไฟ ไม่อาจตั้งอยู่ได้ในสภาวะใด ตอบ: สภาวะนิพพาน ดังนั้น นิพพานจึงไม่อาจพบได้ในก้อนสมองซึ่งเป็นรูป (ดินน้ำลมไฟ) แต่นิพพานเป็นปัญญารู้แจ้ง คำถามที่ไม่มีคำตอบ: ตายแล้วเกิดหรือไม่ คำถามที่มีคำตอบ: อะไรเป็นสาเหตุของการเกิดใหม่ หรือไม่เกิดใหม่ ขันธ์ 1 (ขันธ์เดียว) คือ อสัญญีสัตตาพรหม (พรหมลูกฟัก) มีแต่รูป (กาย) ไม่มีนาม (จิต) ขันธ์ 4 คือ อรูปพรหม มีแต่นาม (จิต) ไม่มีรูป (กาย) ขันธ์ 5 คือ สัตว์ที่เหลือทั้งหมด อรูปฌาน มีแต่จิตนิ่งสงบอย่างเดียว ไม่มีรูป จึงไม่อาจมีปัญญา (นิพพาน) แต่รูปฌานเองก็ไม่ได้ทำให้ถึงนิพพาน เพราะรูปฌานเป็นศาสตร์ที่มีมาก่อนพระพุทธศาสนา เป็นของฤาษีชีไพร แต่เพราะไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ (ปัญญา) จึงไม่อาจบรรลุธรรม พระพุทธเจ้าทรงใช้ฌานในเบื้องต้นแล้วถอนออกมาใช้วิปัสสนาญาณจึงตรัสรู้ ฌาน = mind absorption อยู่กับความนิ่งสงบอย่างเดียว ญาณ = insight ปัญญารู้แจ้ง ฌาน มีกระบวนการ ดังนี้ 1.วิตก (discursive thought) ยังคิดฟุ้งซ่าน 2.วิจาร (sustained thought) สามารถรวมความคิดเหลือเพียงหนึ่งเดียว เช่น อยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียว 3.ปีติ หลังจากวิจารแล้ว จะเกิดความยินดี อิ่มอกอิ่มใจ มีความหวัง 4.สุข หลังปีติ คือได้ลิ้มรสความสำเร็จ 5.เอกัคคตา สำเร็จ ถึงขั้นนี้จะเป็นปฐมฌาน (ฌาน 1) เมื่อจิตดิ่งต่อไปด้วยพลังสมาธิ จะเกิดฌานต่อไปคือ ทุติยฌาน (ฌาน 2) ละ วิตก วิจาร ได้ ตติยฌาน (ฌาน 3) ละ วิตก วิจาร และปีติ ได้ จตุตตฌาน (ฌาน 4) ละ สุข แล้วแทนที่อุเบกขา และยังมีเอกัคคตา พระพุทธองค์ให้นำปัญญาใส่ลงไปในทุกฌาน ดูการดิ่งนิ่งสงบ อยู่นานแค่ไหน จะพบว่าการดิ่งนิ่งสงบไม่อาจอยู่ได้ในคุณภาพเดิม (คือมีการเปลี่ยนแปลงตลอด) นั่นคือ ฌาน ก็ไม่เที่ยง อยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน ต้องอิงอาศัยปัจจัยอื่น ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเป็นตน รู้เช่นนี้จะเกิดวิปัสสนาญาณ อุจเฉททิฏฐิ = ความเห็นว่าขาดสูญ (ตรงข้ามกับ สัสสตทิฏฐิ = ความเห็นว่าเที่ยง) การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ใช้สมถะและวิปัสสนา ร่วมกัน เป็นญาณ 1.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ในปฐมยาม = ความรู้ระลึกชาติ นั่นคือ ภพชาติมีจริง 2.จุตูปปาตญาณ ในทุติยยาม = ความรู้ว่ากรรมเป็นเครื่องผลักดันทำให้จุติและอุบ้ติ นั่นคือ กรรมมีจริง (จุติ = เคลื่อนย้าย; อุบัติ = เกิด) 3. อาสวักขยญาณ ในตติยยาม = ความรูัทำให้อาสวะสิ้น (อาสว = หมักหมม; ขย = สิ้นไป) นั่นคือ หมดเหตุปัจจัยทำให้เกิดกรรมที่จะทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด ปุถุชน ทำกรรมด้วยเจตนา (ตั้งใจ มุ่งหวัง) จึงต้องมีวิบาก คือ เจตนาไปดึงข้อมูลจากสัญญา (ความจำ) ไปผสมกับผัสสะ เรียกว่า สัญเจตนา พระอรหันต์ ทำกรรมเช่นกัน แต่ไม่มีวิบาก เพราะไม่มีเจตนา มีแต่กิริยาจิต (ทำสักแต่ว่าทำ)