У нас вы можете посмотреть бесплатно ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สามทฤษฎี “หลับลึก” ใน 5 นาที จริงหรือ ? или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
บนสังคมออนไลน์แชร์คำแนะนำ สามทฤษฎี สามารถนอนหลับลึกในห้านาที ทั้งเรื่องระยะการนอนหลับ การฟังเสียงดนตรี และการ relax กล้ามเนื้อ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงฐาปนี สมบูรณ์ นายแพทย์ชำนาญการ โรคสมองและระบบประสาทไขสันหลัง สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ----------------------------------------------------- 📌 สรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ Q : สามทฤษฎีหลับลึกที่ว่านี้จริงหรือ ? A : ไม่จริง เราไม่มีทางที่จะหลับลึกได้ภายใน 5 นาที คือปกติแล้ว วงจรการนอนของคน จะแบ่งออกเป็น ช่วงแรกคือ เราตื่น ช่วงสองคือ หลับตื้น กำลังเริ่มหลับใหม่ ๆ แล้วจึงจะเข้าเป็น non-REM Sleep ก็คือ หลับลึก ช่วงที่สี่ คือ ช่วงหลับฝัน หรือ REM Sleep หรือ Rapid Eye Movement คืนหนึ่งเวลาเรานอน จะมีวงจรการหลับแบบนี้อยู่ประมาณ 5-6 รอบ ขึ้นอยู่กับว่านอนกี่ชั่วโมง เพราะฉะนั้น เราไม่มีทางที่จะเข้านอนปุ๊บ แล้วกลายเป็น slow-wave sleep (หลับลึก) เลย ในคนปกติ เว้นแต่กลุ่มโรคบางโรค หรือกินยาบางอย่าง Q : ทฤษฎีแรก เขาบอกว่า การนอนหลับมี 2 ระยะ ? A : ทฤษฎีที่แชร์กันว่า ระยะแรก คือ Rapid Eye Movement แล้วระยะที่สองคือ non Rapid Eye Movement นั้น ไม่ถูก ระยะแรกของเราจริง ๆ ต้องเป็น non Rapid Eye Movement ก่อน คือ หลับตื้น-หลับลึก-แล้วมาเป็น REM ถ้าเรานอนปุ๊บแล้ว เข้า Rapid Eye Movement เลยนี่ ผิดปกติค่ะ เป็นโรคแน่นอน ไม่ปกติแน่นอน Q : ทฤษฎีที่สอง เขาบอกว่า ฟังเสียงดนตรีแล้วจะหลับลึก ? A : ถ้าเป็นคนที่ก่อนจะนอน แล้วต้องเปิดวิทยุเบา ๆ หรือเสียงทีวีเบา ๆ อยู่แล้ว แล้วถึงจะนอนหลับ อันนี้ ไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ในคนที่ไม่เคยใช้ แล้วมาใช้ จะทำให้เรานอนไม่หลับมากขึ้น เพราะเราจะสนใจกับเสียงนั้น คำแนะนำในการนอนที่ดี คือ ห้องนอนต้องเงียบ ต้องมืด ต้องเย็น การที่มีเสียงธรรมชาติ อึ่งอ่าง หิ่งห้อย อะไรแบบนี้ ไม่ดีสำหรับคนที่ไม่เคยใช้ มันจะทำให้เราสนใจในเสียง จะทำให้เรายิ่งนอนไม่ดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการที่เราเปิดทีวีด้วย แสงจากหน้าจอจะทำให้เรายิ่งนอนไม่หลับ มันจะไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนการนอนของเรา ฉะนั้นในกลุ่มคนที่ไม่เคยใช้ หมอจึงไม่แนะนำ Q : ทฤษฎีที่สาม เขาบอกว่า ให้ relax ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งปล่อยจิตใจให้ผ่อนคลาย เปิดคลิปดูภาพธรรมชาติ ? A : เตียงมีไว้สำหรับนอนอย่างเดียว บวกลบกิจกรรมทางเพศ เตียงไม่ได้มีไว้กินข้าว ไม่ได้มีไว้อ่านหนังสือ ไม่ได้มีไว้ออกกำลังกาย ไม่ได้มีไว้เล่นอุปกรณ์แท็บเล็ต ไม่ได้มีไว้ใด ๆ เลย เพราะฉะนั้น การ relax จะไปนวดผ่อนคลาย หรืออะไรแบบนี้ ต้องก่อนหน้านั้น จะเป็นตอนเย็นหรือตอนใดก็ได้ และไม่ใช่บนเตียง เมื่อเราขึ้นเตียงเราควรจะหลับเลย ถ้าทำอะไรบนเตียงนาน ๆ ร่างกายกับจิตใจเราจะคิดว่า เมื่ออยู่บนเตียงแล้วไม่ต้องหลับ Q : คำแนะนำเพื่อการนอนที่มีคุณภาพ ? A : ก่อนนอน ต้องมีช่วงเวลาเตรียมตัวนอน ในช่วงเวลาครึ่งชั่วโมงก่อนที่เราจะนอน ที่เราทำกิจวัตรประจำวันนี่ เหมือนกับบัฟเฟอร์โซน เตรียมให้เราพร้อมจะเข้านอนแล้ว ที่เราไม่ต้องทำอะไร เพื่อเราจะผ่อนคลาย เช่น สมมติว่าเราจะนอนสัก 22.00 น. สัก 21.30 น. เราก็เริ่ม อาบน้ำ แต่งตัว ทาครีม นั่งคิดอะไรเรื่อยเปื่อย ที่ไหนก็ได้ โต๊ะเครื่องแป้ง หรือ โซฟา ห้องนอน หรือที่ไหนก็ได้ แต่ไม่ใช่บนเตียง พอถึงเวลาง่วง ปิดไฟ ขึ้นเตียงนอน ส่วนเรื่องการหลับลึก ร่างกายเราต้องการการหลับทุกอย่าง แต่อันที่สำคัญที่ช่วยในเรื่องการขับถ่ายของเสีย ฟื้นฟูร่างกาย ก็คือ การหลับลึก และ การหลับฝัน ต้องมีทั้งคู่ ทั้งนี้ การหลับลึกเราสามารถกระตุ้นให้มันเกิดได้ โดยการอดนอนหลาย ๆ คืนติดกัน ดังนั้น เรากระตุ้นได้ เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่า การที่คุณฟังเสียงน้ำ ฟังเสียงอะไร แล้วจะทำให้การนอนหลับลึกดีขึ้น ไม่ใช่ Q : แบบไหนจึงเรียกว่า นอนหลับเพียงพอ ? A : ตื่นขึ้นมาแล้วสดชื่น สามารถทำงานในวันนั้นได้ โดยที่ไม่มีการง่วงเหงาหาวนอนระหว่างวัน นั่นหมายความว่า คืนนั้นเรานอนพอ หลับลึกเราพอ เมื่อใดก็ตามที่ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น เหมือนไม่ได้นอนเลย หรืออยากนอนอีก หรือกลางวันรู้สึกง่วง แสดงว่าคืนนั้น เราหลับไม่ดี มันเป็นธรรมดา เราไม่ได้นอนดีทุกคืน ขึ้นกับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง แต่ถ้านอนไม่ดีติด ๆ กันหลาย ๆ คืน หลาย ๆ วัน โดยที่ไม่ได้มีสิ่งกระตุ้นชัดเจน ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุต่อไป Q : สรุปแล้วคำแนะนำนี้เป็นอย่างไร ? A : ไม่จริง ❌แล้วก็ไม่ควรแชร์ ❌ เพราะว่าการหลับลึก ไม่จำเป็นต้องเกิดภายใน 5 นาที แต่ขอให้ในคืนนั้น เรามีการหลับลึกเกิดขึ้น ซึ่งปกติแล้วก็จะมีอยู่แล้วทุกคน เราไม่จำเป็นต้องเร่งให้มันเกิดใน 5 นาที มันทำไม่ได้ #ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare ----------------------------------------------------- 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ "ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์" 🎯 LINE | @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshare FB | / sureandshare Twitter | / sureandshare IG | / sureandshare Website | https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com TikTok | / sureandshare ข่าวค่ำ | สำนักข่าวไทย อสมท | ช่อง 9 MCOT HD เลข 30 | http://www.tnamcot.com