У нас вы можете посмотреть бесплатно การสละจากข้าอารมณ์ที่เป็นที่ตั้งของความขุ่นมัว : หลวงปู่นิภา นิภาธโร или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
วันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่ชีวิตยังมีลมหายใจ มีสติ มีปัญญา ที่จะเติมเต็มบุญกุศลให้กับชีวิต การสละจากข้าอารมณ์ที่เป็นที่ตั้งของความขุ่นมัว สลัดจากอารมณ์ที่เป็นพยาบาท อารมณ์ที่เป็นโมหะก็ดี มันเป็นหน้าที่หลักของบัณฑิตชนทั้งหลาย ผู้ใคร่ในความเจริญ ต้องขวนขวายสลัดจากมลทินเหล่านั้นออกจากจิตจากใจ การฝึก การเติมเต็มความชำนาญให้เกิดความคล่องตัวให้เป็นนิสัย เป็นอนิสัย ที่จะถอดถอนความเห็นผิด มิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้นในจิตในใจ การเติมความชำนาญการเข้าถึงความจริงเป็นสิ่งที่บัณฑิตพึงกระทำ และค้นคว้าให้ยิ่ง ดังอาทิเช่น พ่อค้าที่ปรารถนากำไร เขาก็จะใส่ใจในการค้าขาย ใส่ใจในรายรับรายจ่าย ใส่ใจในบริบทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลกำไร บัณฑิตทั้งหลายก็เช่นกัน พึงใส่ใจในคุณธรรม ในจริยธรรม พึงทบทวนสิ่งเหล่านั้น เพื่อให้ตนได้ชำนาญในการลดละเลิกเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดทุกข์ เกิดภัย เกิดความเห็นผิดออกจากใจ ยิ่งทำยิ่งประเสริฐ ยิ่งทำก็ยิ่งเห็นความชัดเจน เวรทั้งหลายที่สัตว์ได้มีต่อกัน ก็เพราะว่าขาดคุณธรรม ขาดจริยธรรม เมตตาธรรมเป็นสิ่งที่ค้ำจุนโลก โลกคือหมู่สัตว์ โลกคือแผ่นดิน หากมีเมตตาเกื้อกูลต่อกัน ก็มีแต่ความผาสุก แบ่งปันให้กันและกัน การแบ่งปันนั้นเป็นกำลังของความสุข ความเห็นแก่ตัวเป็นกำลังของความทุกข์ เป็นกำลังของความเร่าร้อน การสร้างทานบารมี ศีลบารมี ปัญญาบารมี นั้นเป็นทางแห่งความสุข เป็นเส้นทางของบุญ เป็นความยิ่งใหญ่ของจิตใจ ดังอาทิเช่น “การมีภาวะที่ยิ่งใหญ่” ย่อมทำให้สามารถเห็นความจริงที่ยิ่งกว่าความจริง อย่าประมาท อย่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว ความสุขของบัณฑิตเกิดจากการเสียสละ ส่วนความสุขของคนพาลเกิดจากการเอาเปรียบ ยิ่งเอารัดเอาเปรียบคนอื่นได้อย่างแยบยล ก็ยิ่งเห็นเป็นสุข ส่วนบัณฑิตยิ่งเสียสละได้มากเท่าใด ยิ่งเป็นสุข สงบ เย็น ความสุขของบัณฑิตกับความสุขของคนพาลนั้นต่างกันดุจฟ้ากับดิน ดุจฝั่งทะเลฝั่งนี้กับฝั่งทะเลฝั่งโน้น วิธีดับทุกข์ ก็เช่นเดียวกับการดับไฟ หากยังคงเติมเชื้อไฟอยู่บ่อย ๆ ไฟก็จะไม่ดับ เพราะมันมีเชื้อ เมื่อไม่มีเชื้อ ไฟก็ดับไปเอง ฉะนั้นเชื้อแห่งความเร่าร้อนในจิตใจที่เผาผลาญสัตว์โลก ก็คือความเห็นแก่ตัว การเอารัดเอาเปรียบ ความหลงมัวเมา ความเห็นแก่ตัวนั้นเป็นรากเหง้าของสงคราม เป็นรากเหง้าของการเบียดเบียน เป็นรากเหง้าของความขัดแย้ง ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายที่ขัดแย้งกันก็เพราะความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตระกูลก็จึงแข่งค่า เห็นแก่ศักดิ์ศรีก็จึงแข่งบารมี สุดท้ายความอาฆาตพยาบาทก็วนเวียนไปไม่รู้จบสิ้น พบแล้วพบเล่า ชาติแล้วชาติเล่า ส่วนบัณฑิตนั้นย่อมพยายามสละจากข้า แม้ตัวเองจะเหนื่อย แม้ตัวเองจะลำบาก แต่ก็กระทำจนเป็นนิสัย ถึงแม้จะเหนื่อยล้าสักเพียงใดก็ยังขวนขวายเกื้อกูลสรรพสัตว์ รักสรรพสัตว์เหมือนลูกในอุทร รักสรรพสัตว์เหมือนญาติ เพราะในความเป็นจริงแล้ว สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนร่วมเวียนว่ายตายเกิดกันมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ หากพิจารณาด้วยปัญญา ย่อมเห็นได้ชัดว่า “ภพชาตินี้อาจจะปิดบังปัญญาได้” อาจปิดบังตา ปิดบังหู ปิดบังกายได้ แต่ไม่สามารถปิดบังปัญญาได้ คนมีปัญญาย่อมมองเห็นทั้งในที่มืดและที่แจ้ง พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเสด็จออกบรรพชา ก็เพราะทรงเห็นภัยแห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยธรรมดา หรือการเจ็บป่วยจากสงคราม พระองค์ทรงเกิดความสลดสังเวชใจที่สัตว์โลกต้องแย่งกันอยู่ แย่งกันกิน แย่งกันเสพ เสียบกันไปเสียบกันมาไม่จบสิ้น การที่จะดับทุกข์ได้ต้องหาสาเหตุของความเบียดเบียน หาสาเหตุของความเห็นแก่ตัว จนกระทั่งพระองค์ได้ตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ พบหนทางอันเลิศ หนทางอันประเสริฐ พระองค์จึงประกาศ “อิสรภาพให้กับจิตใจของตนเอง” ปลดแอกทางด้านความคิด ไม่ตกเป็นทาสของความเห็นแก่ตัว ไม่ตกเป็นทาสของความเห็นผิด จนบรรลุถึงบรมสุข แห่งพระนิพพาน ซึ่งเป็นสุขแท้ สุขที่ไม่ต้องอิงอัตตาตัวตน สุขที่ไม่ถูกปิดกั้นด้วยความเห็นใด ๆ ฉะนั้น เราท่านทั้งหลาย ผู้เดินตามรอยยุคลบาทของพระศาสดา ก็ต้อง “โอปนยิโก” น้อมนำมาสู่จิตใจของเรา มาดูสมุทัย สาเหตุที่ทำให้เราทุกข์ มาดูว่าสิ่งใดเป็นบุญ สิ่งใดเป็นบาป ปรับเปลี่ยนความคิดของเรา ด้วยสติปัญญาของเราเอง เพื่อไม่ให้เราต้องเป็นทุกข์ ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารในทะเลทุกข์เหล่านั้นอีก จะเดินเข้าสู่พระนิพพานตามรอยพระยุคลบาทได้อย่างไร? ก็ต้องขวนขวายสืบทอดสันติสุขโดยตัวของเราเอง ฝึกฝน อบรมจิตใจของเรา ให้จิตมีพลัง หากจิตไปรักโลภกับโลกจนเกินไป กำลังฌาน กำลังญาณ กำลังสติปัญญาก็จะเลือนลาง เส้นทางแห่งอริยมรรคอริยผลก็จะเลือนราง เพราะอัตตาตัวตนและความเสพติดในโลกยิ่งทวีคูณ การสร้าง เมตตาธรรมค้ำจุนโลก ต้องขยายจากความรักที่มีต่อบุตร ภรรยา สามี ไปสู่สรรพสัตว์ทั้งปวง เมื่อมองด้วยปัญญาเช่นนี้ ก็จะเข้าใจว่า “เราเคยเป็นญาติกันมาแล้วทั้งสิ้น” พระบรมศาสดาทรงแสดงให้เห็นเป็นแบบอย่างว่า “เรารักพระราหุลอย่างไร ก็รักพระเทวทัตอย่างนั้น” นี่คือความเมตตาที่ไม่มีประมาณ เป็นมหากรุณาที่หาที่สุดมิได้ ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายพึงประพฤติปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไป โอปนยิโก น้อมนำมาสู่จิตสู่ใจของตนเอง ขอความสุขความสำเร็จจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ด้วยกันทุกรูปทุกนาม ทุกตัวตน ทุกคน ทุกท่าน เทอญ