У нас вы можете посмотреть бесплатно EP 01 Drone 101 โดรนพื้นฐานและประเภทของโดรน или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
EP 01 Drone 101 โดรนพื้นฐานและประเภทของโดรน โดรน (drone)หมายถึงยานที่ไม่มีมนุษย์โดยสาร แต่ถูกบังคับโดยมนุษย์ทางวิทยุหรือโดยระบบอัตโนมัติก็ได้ โดรนมีหลายประเภท ทั้งโดรนบนบก โดรนใต้น้ำ และโดรนอากาศ ถ้าเป็นโดรนอากาศมักถูกเรียกว่า อากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial vehicle, UAV) ซึ่งในจุดเริ่มต้นแล้วโดรนไม่ได้ใช้ในการ สันทนาการเหมือนในปัจจุบัน แต่เริ่มใช้ในการทหาร ซึ่งจะใช้โดรนในการสอดแนมพื้นที่แวดล้อมของ ข้าศึก โดยมีข้อดีก็คือไม่ต้องใช้คนจริงเข้า ไปในพื้นที่ซึ่งเสี่ยงอันตรายนั่นเอง ตั้งแต่สมัยเริ่มต้น จนมาถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีของโดรนได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนไม่ได้ จำกัดแค่ในทางทหารเท่านั้น ในปัจจุบันโดรนถูกใช้ในหลากหลายรูปแบบ ประเภทของโดรนตามหลักการทำงานก็จะแบ่งเป็น 1. Multirotor UAV’s – ถือเป็นโดรนที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด สามารถเคลื่อนตัวได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว เพราะโดรนชนิดนี้มีทั้งระบบ 4, 6, 8 ใบพัด ไม่จำเป็นต้องมีรันเวย์สำหรับการบิน แต่ข้อเสียของโดรนประเภทนี้ก็คือการทำความเร็วและระยะทางจะน้อยกว่าโดรนประเภทอื่นๆ 2. Fixed-wing drones – จะมีลักษณะของการทำงานเหมือนเครื่องบิน ต้องมีรันเวย์ เป็นโดรนที่บินได้นานและเร็วกว่าแบบแรก ส่วนใหญ่มักใช้งานด้านการสำรวจพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ และยังบรรทุกของหนักได้ในระยะไกลและใช้พลังงานที่น้อยอีกด้วย ด้วยของดีข้อด้อยของทั้งสองแบบ จึงเกิดแบบที่3 คือ 3. Hybrid model (tilt-wing) – เป็นโดรนที่สามารถขึ้นลงในแนวดิ่ง และบินได้ไกล แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้น แต่หากเราแบ่งตามประเภทการใช้งานก็อาจจะแบ่งเป็น 1. โดรนถ่ายภาพมุมสูง หรือโดรนติดตั้งกล้อง HD ความละเอียดสูง สามารถถ่ายภาพ/ถ่ายวิดีโอจากระยะไกลได้อย่างคมชัด บางรุ่นอาจมี Gimbal แกนกันสั่นเพื่อให้ได้ภาพที่นิ่งมากขึ้นด้วยตัวรีโมทมีปุ่มสำหรับควบคุมกล้องและสั่งงานถ่ายภาพได้ พร้อมจอแสดงภาพในกล้องแบบเรียลไทม์ หรืออาจใช้การเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต ผ่าน Wi-Fi แทนก็ได้เช่นกัน 2. โดรนการเกษตร โดรนที่เข้ามาช่วยเกษตรกรในขั้นตอนการทำงานต่างๆ เช่นโดรนสำหรับหว่านปุ๋ย และฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงสัตรูพืชในนาข้าว การรดน้ำ การให้ฮอร์โมน และโดรนสำหรับการถ่ายภาพวิเคราะห์/ตรวจโรคพืช ข้อดีคือ ลดจำนวนชั่วโมง และจำนวนคนในการทำงาน อาจจะใช้ 1-2คนในการทำงานเท่านั่น 3. โดรนสำรวจและทำแผนที่ ประยุกต์ใช้โดรนเทคโนโลยีเพื่อสำรวจทำแผนที่ในการวางผังเมือง การจัดสรรพื้นที่ วางแผนโครงสร้างพื้นฐาน การสำรวจภัยพิบัติ การบริหารจัดการน้ำ โดยข้อมูลที่ได้จะนำไปช่วยในการตัดสินใจต่อไป 4. โดรนทางการทหาร UAV” จึงถูกนำมาใช้ในภารกิจด้านความมั่นคงทางการทหาร เพื่อเพิ่มกำลังการจู่โจมเป้าหมายพร้อมด้วยการควบคุมอาวุธนำวิถี ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติยุทธศาสตร์การรบด้วยเทคโนโลยีไซเบอร์แทนกองกำลังภาคพื้นดิน ทำให้ผู้บังคับบัญชาในสนามรบสามารถประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่กำลังพลในการปฏิบัติภารกิจ 5. โดรนส่งของ เป็นการประยุกต์ใช้โดรนเพื่อส่งสินค้า อาหาร หรือยาเวชภัณท์ต่างๆ ซึ่งมีหลายๆบริษัทได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็น amazon, google, wing, แอลฟาเบต และ อูเบอร์ แต่ด้วยข้อจำกัดทางกฎหมาย ความกังวนด้านความปลอดภัย จึงทำให้ยังไม่มีออกมาให้เห็นมากนัก 6. โดนสำหรับแข่ง หรือ racing drone ออกแบบให้ใช้เพื่อการแข่งขัน ถูกปรับแต่งให้สามารถเคลื่อนที่เปลี่ยนทิศทางได้อย่างรวดเร็ว ใช้สัญญาณควบคุมหลายคลื่นความถี่ เพื่อให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อระหว่างโดรนกับตัวควบคุมจะไม่มีการรบกวนจากสัญญาณอื่น ๆ มีโครงสร้างที่เบาบาง และไม่ได้รับผลกระทบจากลม ปัจจุบันนิยมใช้ร่วมกับแว่น VR เพื่อการความคุมที่แม่นยำขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง 7. โดรนใต้น้ำ มีทั้งแบบถ่ายภาพ สำรวจใต้น้ำและทางการทหาร ข้อดีคือลดข้อจำกัดทางสรีระมนุษย์ที่ไม่อาจเข้าถึงได้ในบ้างพื้นที่ อาจจะด้วยความกดดันใต้น้ำหรือข้อจำกัดทางภูมิศาตร์ต่างๆ