У нас вы можете посмотреть бесплатно "ศรัทธา-ปัญญา-นิพพาน" 5/10/62 เช้า или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
บรรยาย ณ มูลนิธิมิตรภาพไทยริชโช กรุงเทพฯ 5/10/62 เช้า เนื้อหาโดยย่อ :- ศรัทธา: ศาสนบุคคล, ศาสนวัตถุ, ศาสนธรรม, ศาสนพิธี ปัญญา: ปริยัติ, ปฏิบัติ, ปฏิเวธ พุทธคุณ: ปัญญาธิคุณ, บริสุทธิคุณ, มหากรุณาธิคุณ สันทิฏฐิโก = รู้ได้ด้วยตนเอง สันทิฏฐิกนิพพาน = นิพพานอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง เอหิภิกขุอุปสัมปทา = วิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าประทานด้วยพระองค์เอง ด้วยการเปล่งพระวาจาว่า “ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด” ติสรณคมนูปสัมปทา = การอุปสมบทด้วยถึงไตรสรณะ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้พระสาวกทำในยุคต้นพุทธกาล สังฆคุณ: คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 8 บุรุษ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล; สกทาคามิมรรค-สกทาคามิผล; อนาคามิมรรค-อนาคามิผล; อรหัตตมรรค-อรหัตตผล มรรค = ทาง ขณะปฏิบัติ เช่น โสดาปัตติมรรค เป็นการอยู่ระหว่างการเดินทาง(ฝึกฝนปฏิบัติ)ละสังโยชน์ 3 ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส เมื่อละสังโยชน์ 3 ได้สำเร็จจึงเป็นโสดาปัตติผล จิต-เจตสิก-รูป ไม่ใช่นิพพาน แต่นิพพานรู้ได้ด้วยจิต นิพพานไม่ใช่มรรค-ผล แต่มรรค-ผล เป็นหนทางนำไปสู่นิพพาน นิโรธ(ดับทุกข์) = นิพพาน ประเภทของนิโรธ: วิกขัมภนนิโรธ; ตทังคนิโรธ; สมุจเฉทนิโรธ; ปฏิปัสสัทธินิโรธ; นิสสรณนิโรธ โพธิปักขิยธรรม 37 + วิปัสสนาภูมิหก 73 ได้แก่ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจจ์ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12 = หมวดธรรม (มรรค) ทั้งหมดในพุทธศาสนา (ย่ออยู่ใน"นะโมตัสสะ...") หากเชื่อมโยงเป็นจะเข้าใจและนิพพานได้ แต่เมื่อถึงนิพพานแล้วจะสลัดทิ้งทั้งหมด มรรค เป็นการเดินทาง, ผล เป็นความสิ้นสุดแห่งการเดินทาง(แต่ไม่ใช่เป้าหมาย), นิพพาน เป็นเป้าหมาย มีอยู่ที่นี่และเดี๋ยวนี้ (here and now) เสมอ เมื่อมีผัสสะ ย่อมทำให้เกิดเวทนา (สุข-ทุกข์-อทุกขมสุข) การเสพเวทนาครั้งแรกหลังได้รับผัสสะจะยังไม่มีการปรุงแต่ง หากหยุดเวทนาได้ (ไม่ยินดียินร้าย) ก็ไม่มีทุกข์ หากหยุดเวทนาในขั้นตอนนี้ไม่ได้จะเกิดนันทิ (ความเพลิน) ราคะ (ความอยาก) ซึ่งมีการปรุงแต่งย่อมเป็นทุกข์ การที่มีการปรุงแต่ง(สังขาร)ก็เพราะอวิชชาครอบงำ สัพเพ ธัมมา อนัตตา = ธรรมทั้งหลาย (ทั้งสังขารธรรม-อสังขตธรรม, โลกียธรรม-โลกุตตรธรรม) ไม่ใช่ตัวตน สูตรต่าง ๆ เกี่ยวกับการตั้งคำถามแบบมิจฉาทิฏฐิ ทิฏฐิ 62 อยู่ใน ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พรหมชาลสูตร (ที.สี.๙/๒๖-๕๐/๑๑-๓๗) http://www.84000.org/tipitaka/read/?9... กัจจานโคตตสูตร อยู่ใน สังยุตตนิกาย นิทานวรรค (สํ.นิ.๑๖/๔๒-๔๔/๑๖-๑๗) http://www.84000.org/tipitaka/read/?1... อเจลกัสสปสูตร อยู่ใน สังยุตตนิกาย นิทานวรรค (สํ.นิ.๑๖/๔๗-๕๒/๑๘-๒๑) http://www.84000.org/tipitaka/read/?1... ทางสายกลาง คือ แล้วแต่เหตุปัจจัย เหตุปัจจัยมีก็เกิด เหตุปัจจัยไม่มีก็ไม่เกิด พระพุทธเจ้าจะไม่ตอบคำถาม หากคำถามคำตอบนั้น :- 1.ไม่เป็นประโยชน์ 2.ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ 3.ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย 4.ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด 5.ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับแห่งจิต 6.ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง 7.ไม่เป็นไปเพื่อความรู้แจ้ง 8.ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน