У нас вы можете посмотреть бесплатно Ep362 *พิณน้ำเต้าจากอินเดียสู่สุวรรณภูมิ จากอีสานใต้สู่กัมพูชา или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
Ep362 *พิณน้ำเต้าจากอินเดียสู่สุวรรณภูมิ จากอีสานใต้สู่กัมพูชา สวัสดีครับ พิณน้ำเต้า เป็นเครื่องดนตรีโบราณของอินเดีย แพร่เข้ามาสู่สุวรรณภูมิ ผมจะให้ดูการเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้ไปด้วยในอินเดีย โดยเฉพาะที่รัฐโอริสสา เล่นกันมานานแล้ว พิณน้ำเต้าเป็นเครื่องดนตรีโบราณ มีลักษณะเรียบง่าย คันพิณทำจากไม้ลักษณะแท่งตรง ขึงสายด้วยเชือกหรือเส้นโลหะด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนด้วยหมุดสาย และผูกกระโหลกพิณที่ทำจากน้ำเต้า เพื่อขยายเสียงให้ดังกังวาน พิณน้ำเต้า มีปรากฏให้เห็นเก่าแก่สุดในภาพจิตรกรรม ถ้ำอชันตา ประเทศอินเดีย เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 เป็นรูปข้าบริพารแบกพิณน้ำเต้าพาดบ่า โดยรูปทรงนั้นตรงตามลักษณะที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบัน จึงสันนิษฐานว่าพิณน้ำเต้านี้อาจจะมีต้นกำเนิดมาจากทางอินเดีย ต่อมา พิณน้ำเต้าพบปรากฏตามภาพสลักเทพฮินดู ในเทวสถานของอินเดีย พิณถูกเรียกว่าอลาพิณี วีนา และยังปรากฏ ตามงานจิตรกรรม ภาพสลักฝาผนังอื่น ๆ พิณน้ำเต้า เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด พิณน้ำเต้าเป็นพิณสายเดียว ทำมาจากผลของน้ำเต้าที่ถูกผ่าครึ่ง ในยุคต่อมา ก็พบเห็นในแถบภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ พิณน้ำเต้าแพร่มายังคนพื้นถิ่นตามการมาถึงของศาสนาฮินดู และพุทธ และการเผยแผ่วัฒนธรรมอินเดียในภูมิภาคนี้ อย่างที่พบในบุโรพุทโธที่อินโดนีเซีย ปราสาทบายนในกัมพูชา และรูปปั้นดินเผา วัฒนธรรมทวารวดีของบ้านเรา เป็นต้น ปัจจุบัน พิณน้ำเต้ายังพบเห็นการบรรเลงในหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งในอินเดีย และแถบเอเชียอาคเนย์ ในอินเดียนั้นพบเห็นในกลุ่มชาติพันธุ์มุนดา และโซรา ในอินเดียตะวันออก ซึ่งนิยมเล่นเพื่อเฉลิมฉลอง ขอพร และขอบันดาลให้ผลผลิตอาหารบริบูรณ์ สำหรับแถบเอเชียอาคเนย์นั้น พิณน้ำเต้า ยังพบเห็นในแถบที่ราบสูงในกัมพูชา แถบรัตนคีรี ของชาวเกรือง อีกแห่งคือของชาวไทยวน ในภาคเหนือของไทย มีทั้งพิณน้ำเต้าสายเดียว และพิณเปี๊ยะ พิณน้ำเต้า ประกอบด้วยลูกน้ำเต้าผ่าครึ่ง ส่วนพิณเปี๊ยะใช้กะลามะพร้าวผ่าครึ่งแทนลูกน้ำเต้าที่เคยใช้มาแต่เดิม เพราะหาง่ายกว่า มีสมมติฐานว่าพิณน้ำเต้าทางแอฟริกานั้น ได้เดินทางไปตามการเดินเรือของบรรพบุรุษชาวมาลากาสี ในมาดากัสการ์ จากเกาะบอร์เนียว และได้กระจายไปตามหมู่เกาะและชายฝั่งของทางแอฟริกาตะวันออกด้วย โดยทั่วไปแล้วผู้ดีดพิณน้ำเต้า จะต้องไม่สวมเสื้อหมายความว่าผู้ที่ดีดส่วนมากจะเป็นผู้ชาย โดยผู้ดีดจะนำเอากะโหลกเสียง หรือกะโหลกน้ำเต้าวางประกบแนบติดกับอกซ้าย มือซ้ายจะจับที่ทวน ส่วนมือขวาใช้ดีดพิณ ผู้ดีดพิณน้ำเต้าที่มีความชำนาญในการเล่นจะขยับกะโหลกน้ำเต้าให้เปิด-ปิด อยู่ตรงหน้าอกข้างซ้ายในบางครั้ง เพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวาน ตามความประสงค์ของผู้ดีด แล้วใช้นิ้วซ้ายช่วยกดให้สายตึงหรือหย่อน ภาพปูนปั้นกลุ่มสตรีนักดนตรี พบที่คูบัว จ. ราชบุรี ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-15 ชื่อเดิมของพิณน้ำเต้า ในขอมอีสานใต้เรียกว่า กระแสมูย (ខ្សែមួយ) หมายถึงมีสายเพียงหนึ่งสาย ต่อมานิยมเรียกว่า สายเดียว เมื่อแพร่เข้าไปในเขมร ตอนแรกเขมรเรียกว่า สายเดียว ตามภาษาไทย ต่อมา เรียกสั้น ๆ เป็น สาเดียว (សាដៀវ) เลยนิยมเรียกว่า สาเดียว เรื่อยมา ในเว็บเขมรเองก็บอกว่าคำนี้มาจากภาษาเสียม หรือภาษาสยาม คือเรียกชื่อเครื่องดนตรี ตามคำเสียมที่แพร่เข้าไปในเขมร ผมนำตอนหนึ่งในเว็บเขมรที่บอกว่าเรียกตามคำเสียมมาให้ฟังครับ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเดี่ยว เป็นเครื่องดนตรีของชาวขอม เครื่องมือชิ้นนี้เป็นมรดกจากบรรพบุรุษชาวขอม ซึ่งเราพบเห็นได้จากการแกะสลักในวัดขอมโบราณ โดยเฉพาะการแกะสลักที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ซึ่งมีอายุย้อนกลับไปถึงสมัยปราสาทไพรกุก เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุด ทำจากน้ำเต้าสุก (น้ำเต้ากลม) ขึงด้วยลวดโลหะผสมทองแดง มีไม้กลมยาวประมาณ 80 เซ็นติเมตร ปลายด้ามจับโค้งเล็กน้อยคล้ายงู มีลวดลายแกะสลักสวยงาม ตอนท้ายของด้ามเป็นชิ้นไม้ที่ถูกแกะสลักแล้วเสียบเข้าไปในด้ามจับ เรียกว่า ไม้ระแนง ที่ทำแบบนี้ เพราะเมื่อแตกก็สามารถเปลี่ยนใหม่ได้ สำหรับเครื่องสาย สายจะทำจากลวดทองแดงแล้วผูกเข้าด้วยกัน โดยมีสายติดอยู่กับด้ามไม้ กล่องเสียงจะติดอยู่กับก้านด้วยเชือกที่ร้อยผ่านรูที่ก้าน โดยติดอยู่กับวงแหวนด้านใน สายนี้สามารถบิดเพื่อสร้างเสียงที่แน่นหรือหลวมได้ ตรงด้ามจับ มีสายหนังคล้องไว้ เพื่อช่วยปรับความตึงของมือซ้ายในการรูดขึ้นลง ทำให้ไม่ลื่นหลุดเมื่อฝ่ามือเปียกเหงื่อ สำหรับพิณ จะมีการแกะสลักด้วยลวดลายอันวิจิตรบรรจง ขณะที่แสดง นักดนตรีต้องถือหรือยกเปลือกน้ำเต้าขึ้นและลงบริเวณหน้าอกเพื่อสร้างเสียงจังหวะ โดยแกว่งด้วยมือขวา และซ้ายขึ้นและลงขนานกัน ส่วนตรงกลางของนิ้วชี้มีหน้าที่ช่วยระงับเสียง พิณน้ำเต้ามีเสียงอันไพเราะ เมื่อแสดง นักดนตรีจะต้องเล่นข้างหน้าเครื่องดนตรีอื่นๆ เพื่อให้เสียงของเครื่องดนตรีนั้นๆ โดดเด่น การอ้างว่าพบรูปสลักที่ปราสาทสมบูรณ์ไพรโคก และที่ปราสาทบายน ก็เป็นผลงานของชาวขอมที่ไปจากอีสานใต้ทั้งนั้นแหละครับ การบรรเลงด้วยพิณน้ำเต้ามีทั้งในไทยและในเขมร ผมก็นำมาให้ดูประกอบการบรรยายไปด้วย วันนี้เล่าให้ฟังเพียงเท่านี้ จะเล่าเรื่องใหม่ให้ฟังอีกในโอกาสต่อไป วันนี้ สวัสดีครับ