У нас вы можете посмотреть бесплатно "อายตนะ-นิพพาน" 21/9/62 บ่าย или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
บรรยาย ณ มูลนิธิมิตรภาพไทยริชโช 21/9/2562 / 243385082444528 อ่านและดาวน์โหลดเอกสารประกอบคำบรรยาย "ปาฏลิคามิยวรรค" https://memoir.kilophyll.com/2020/08/... เนื้อหาโดยย่อ: พระสูตรที่กล่าวถึงนิพพานโดยตรง ได้แก่ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย หมวด "อุทาน" หัวข้อ "ปาฏลิคามิยวรรค" สูตรที่ 1 "ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตร" โดยใช้คำว่า "อายตนะ" อายตนะ คือ แดนเชื่อมต่อ เพื่อรับรู้อาการเชื่อมต่อ(วิญญาณ) อายตนะภายใน มีหน้าที่เชื่อมต่อกับ อายตนะภายนอก หากไม่มีการเชื่อมต่อก็ไม่มีความหมายใด ๆ oneness = ความเป็นหนึ่งเดียว พุทธะ เป็นผู้รู้ทุกสิ่งตามความเป็นจริง harmony = ความกลมกลืน ใจ เป็น oneness ของสิ่งมีชีวิต จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว นิพพาน เป็นการอยู่ได้ในทุกสภาวะ ทวิภาวะ (duality) หากเชื่อมต่อเป็น ก็เป็นสิ่งเดียวกัน (oneness) กฎแห่งธรรมชาติ เป็นหนึ่งเดียว พุทธศาสนาสอนให้เข้าถึง pure nature บางครั้ง reasoning อาจสอดคล้องกับ pure nature วิญญาณธาตุ คือ ธาตุรู้แท้ ๆ ตามธรรมชาติ เปรียบเสมือนกระแสโลหิตที่ไหลทั่วร่างกาย living will = หนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 คนไข้ต้องทำด้วยตนเอง Do Not Resuscitate (DNR) หรือ No Resuscitation (NR) คือ คำสั่งปฏิเสธการกู้ชีพ (ส่วนใหญ่หมายถึงการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ) พระพุทธองค์สอนให้การดำรงชีวิตต้องเกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เมื่อใกล้ความตาย มนุษย์จะผ่าน 2 แดน คือ มรณาสันนกาล และ มรณาสันนวิถี ในแดนมรณาสันนกาล อวัยวะทั้งหลายจะทำงานอ่อนแรงมาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะมีอิทธิพลต่อร่างกายเพียงอย่างละ 1/6 หรือ 16.67% หลังจากนั้น เมื่อหมดหลมหายใจ จะเข้าสู่แดนมรณาสันนวิถี ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย หยุดทำงาน เหลือแต่ จิตอย่างเดียว ทำงานเต็ม 100% ในแดนนี้จะเกิด 3 ขั้นตอน 1.กรรมอารมณ์ (อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตไปสัมผัส เพราะธรรมชาติของจิตจะไขว่คว้า) ดังนั้น กรรมอารมณ์ จิตจะไปไขว่คว้าเรื่องเก่า นั่นคือ "กรรม"ในสัญญา แต่จะเป็นกรรมไหนขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย (causes and conditions) แม้จะทำบุญมามาก แต่หากเคยทำบาปด้วย บาปนั้นก็อาจเป็นกรรมที่จิตนั้นไปไขว่คว้าก่อน (possibility--ความเป็นไปได้ ไม่ใช่ certainty--ความแน่นอน) 2.กรรมนิมิตอารมณ์ (นิมิต คือ เครื่องหมาย) จะเป็นการ"ฉายหนัง"เก่ากรรมนั้น ๆ ให้จิตเห็น 3.คตินิมิตอารมณ์ (คติ คือ ที่ไป นิมิต คือ เครื่องหมาย) นั่นคือ จิตจะจุติ(เคลื่อนย้าย) ไปเกิด(ปฏิสนธิ)ในที่ใหม่ในคตินิมิตนั้น อาจิณณกรรม คือ กรรมที่ทำบ่อย ๆ เป็นนิสัย จะทำให้เกิดกรรมอารมณ์สูง หากเข้าถึงนิพพาน จะไม่มีแดนมรณาสันนวิถี นั่นคือ ไม่มีเหตุปัจจัยไปเกิดอีก เพราะจิตไม่ได้เก็บสัญญา(กรรม)ที่จะไปเกิด ไม่มีเวทนาใหม่ ฯลฯ