У нас вы можете посмотреть бесплатно "ปาฏลิคามิยวรรค-นิพพาน (พระสูตรที่ 3-4)" 30/10/62 สาย-ก่อนเที่ยง или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
บรรยาย ณ ศาลาธรรม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 30/10/62 สาย-ก่อนเที่ยง อ่านและดาวน์โหลดเอกสารประกอบคำบรรยาย "ปาฏลิคามิยวรรค" https://memoir.kilophyll.com/2020/08/... เนื้อหาโดยย่อ :- สูตรที่ 3 ตติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตร (นิพพาน) เป็นธรรมชาติที่ 1.ไม่เกิด (อะชาตัง) = unborn 2.ไม่ปรากฏ/ไม่มี/ไม่เป็น (อะภูตัง) = unoriginated (ภูตะ = ความมี ความเป็น ความปรากฏ) ไม่มีที่มาต้นตอ 3.ไม่ถูกเหตุสร้าง (อะกะตัง) = uncreated คือไม่มีสิ่งใดหรือใครสร้าง นั่นคือ นิพพานอยู่เหนือเหตุ-ผล 4.ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อะสังขะตัง) = unformed (mental formation = สังขาร การปรุงแต่งทางจิต) นิพพานไม่มีการปรุงแต่ง (mind-made images = นิมิตที่จิตสร้าง-ปรุงแต่งขึ้นมา) จึงมีภาวะสลัดออก ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (The Law of Relativity) สิ่งใดจะให้ค่าได้ต้องสัมพัทธ-เปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่ง โดย 2 ขั้วจะอยู่ในที่ที่เดียวกัน เช่น เปรียบเทียบระหว่างโลกียธรรมกับโลกุตตรธรรม อยู่ที่เดียวกันแต่ไม่ได้ปรากฏพร้อมกัน เหมือนเหรียญ 2 ด้าน ต้องดำรงชีวิตด้วยการดุล 2 ขั้ว ธรรมคือหน้าที่ หน้าที่คือธรรม สรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกัน (inter-dependence) ธรรมชาติล้วนมีขั้วตรงข้ามแต่สมดุลกัน (counterbalance) เช่น มีทุกข์ ก็มีไม่ทุกข์, เปลี่ยนแปลง ก็มีหยุดนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง สูตรที่ 4 จตุตถนิพพานปฏิสังยุตตสูตร "ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย" –อริยสัจ ข้อที่ 1-2 "ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย" –อริยสัจ ข้อที่ 3-4 อยู่กับตัณหา แต่ไม่ยึดติดตัณหา ทิฎฐิ คือ ความเห็น ให้เปลี่ยนทัศนคติในชีวิตใหม่ "นั่นไม่ใช่ของเรา" –ละตัณหา "เราไม่ได้เป็นนั่น" –ละมานะ "นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" –ละทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิ) "เมื่อความหวั่นไหวแห่งจิตไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ (tranquility–สงบกายสงบจิต) → ไม่มีตัณหา → ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด (กิเลส-กรรม-วิบาก) → ไม่มีจุติ (เคลื่อนย้าย) ไม่มีอุบัติ (เกิดใหม่) → ไม่มีโลกนี้โลกหน้าและช่องว่างระหว่างโลกทั้งสอง → ที่สุดแห่งทุกข์ นิโรธ (ดับ) :- 1.วิกขัมภนนิโรธ คือ ข่มจิต บังคับจิต ด้วยกำลังสมถกรรมฐาน แต่ดับได้ชั่วคราวตามกำลังฌาน 2.ตทังคนิโรธ คือ ใช้ธรรมที่เป็นขั้วตรงข้ามไปปราบ เช่น ใช้เมตตาไปปราบการเบียดเบียนสัตว์ ด้วยสมถกรรมฐาน แต่ดับได้ชั่วคราวเช่นกัน 3.สมุจเฉทนิโรธ คือ ประหารหรือตัดเด็ดขาด โดยวิปัสสนากรรมฐานจนถึง"มรรคญาณ" แยกขันธ์ 5 ด้วยการเห็นแจ้งตามจริง (วิปัสสนา) 4.ปฏิปัสสัทธินิโรธ คือ สงบระงับ เป็น"ผลญาณ" อันมาจากการปฏิบัติ "มรรคญาณ" 5.นิสสรณนิโรธ คือ สลัดออก ดับกิเลส เป็นเป้าหมาย คือ "นิพพาน" (นิสสรณ = สลัดออกเครื่องพันธนาการจิต) มรรค-ผล ไม่ใช่นิพพาน แต่สู่นิพพานด้วยมรรค-ผล; นิพพานไม่ใช่จิต แต่นิพพานรู้ได้ด้วยจิต ปฏิบัติ: สมถะ-วิปัสสนา-มรรค-ผล-นิพพาน สังโยชน์ 10 (10 fetters) = เครื่องร้อยรัดจิตไม่ให้บรรลุธรรม 1.สักกายทิฏฐิ (มีความเห็นเป็นตัวตน) 2.วิจิกิจฉา (ลังเลสงสัย); กำจัดได้ด้วยการศึกษาปฏิบ้ติจนหายสงสัย 3.สีลัพพตปรามาส (ยึดมั่นถือมั่นในศีลพรตเกิน) สีล = ศีล; พต = พรต; ปรามาส = เข้าใจเกินขอบเขต 4.กามราคะ (ติดใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) 5.ปฏิฆะ (ระคายเคือง) ส่วนโทสะ = โกรธ; พยาบาท = 6.รูปราคะ (ติดใจในรูปฌาน) 7.อรูปราคะ (ติดใจในอรูปฌาน) 8.มานะ (ติดใจในความมีความเป็น ลึกๆในจิต) 9.อุทธัจจะ (ฟุ้งซ่าน) 10.อวิชชา (ความไม่รู้ตามจริง) โสดาบัน ละข้อ 1-3 สกทาคามี ละข้อ 1-3 และ 4-5 เบาบาง อนาคามี ละข้อ 1-5 อรหันต์ ละทั้ง 10 ข้อ สัมมาสังกัปปะ: ดำริออกจากกาม (เนกขัมมสังกัปปะ), ไม่อาฆาตเคียดแค้น (อพยาบาทสังกัปปะ), ไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปปะ)