У нас вы можете посмотреть бесплатно Ep247 *คำขอม ในภาษาไทย # 15 โจงกระเบน คำนี้มาจากภาษาขอม или скачать в максимальном доступном качестве, видео которое было загружено на ютуб. Для загрузки выберите вариант из формы ниже:
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием видео, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса ClipSaver.ru
Ep247 *คำขอม ในภาษาไทย # 15 โจงกระเบน คำนี้มาจากภาษาขอม สวัสดีครับ คำว่า โจงกระเบน (ចងក្បិន) เป็นคำที่คนไทยเราคุ้นเคยกันดี เพราะเป็นการนุ่งผ้า รูปแบบหนึ่ง แต่เดิมเข้าใจว่าคำนี้มาจากภาษาเขมร ที่จริงคำนี้ มาจากภาษาขอม คำว่า โจง หรือ จอง หมายถึงการผูก หรือการมัด คำว่า โจง กับ จอง ใช้กันมานาน ความหมายเดียวกัน เพียงแต่ออกเสียงต่างกัน เหมือนแม่น้ำโขง กับแม่น้ำของ เลขโสง กับเลขสอง คำว่า สอง ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงใช้ว่า โสง นะครับ ผมนำหลักฐานมาให้ดู ในที่นี้ ด้วย โจงกระเบน เป็นเครื่องแต่งกายที่พันรอบร่างกายส่วนล่าง ถือเป็นเครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันของชนชั้นสูงและชั้นกลาง มีรูปร่างคล้ายกางเกงมากกว่ากระโปรง มีความแตกต่างจากผ้านุ่ง ผู้สวมใส่จะนำชิ้นผ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาพันรอบเอว ขอบผ้าจะผ่านระหว่างขาและเหน็บที่ข้างหลังส่วนล่างของผู้สวมใส่ โจงกระเบน แยกออกเป็น 2 คำ คือ คำว่า โจง หมายถึง ผูก, ส่วนกระเบน หมายถึง หางปลากระเบน ที่ม้วนชายผ้าให้มีลักษณะเป็นเกลียว คล้ายหางปลากระเบน ดึงชายผ้า ให้สูงร่นขึ้นไปเหนือเข่า แล้วโยงลอดหว่างขาไปเหน็บไว้ที่ขอบผ้านุ่งตรงก้นกบ จึงมีคำเรียกส่วนของร่างกายตรงนั้นว่า กระเบนเหน็บ วัฒนธรรมการนุ่งห่มแต่เดิม ของชาวพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ดึกดำบรรพ์คือการนุ่ง “เตี่ยว” เป็นผ้าผืนเล็กแคบยาวคาดปกปิดอวัยวะเพศ ทิ้งชายผ้าหน้าหลัง ซึ่งยังพบเห็นอยู่บ้างในกลุ่มชน ตามดินแดนห่างไกล เมื่อคนแถบนี้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาพร้อมๆกันในราว 1500 ปีมาแล้ว ก็เริ่มมีการใช้เครื่องแต่งกายตามแบบชาวอินเดีย คือผ้านุ่งแบบที่เรีกว่า โธตี (Dhoti) โธตี เป็นผ้านุ่งยาวมีวิธีการนุ่งหลากหลายเช่นนุ่งปล่อยชายเป็นถุงแบบเดียวกับโสร่ง หรือพับจีบชายผ้าข้างซ้ายลอดหว่างขาเหน็บไว้ด้านหลัง และชายผ้าข้างขวาพับเหน็บไว้ด้านหน้าเป็นชายพก บางแห่งเรียก ปัญจะ เพราะมาจากความยาวผ้าขนาด 5 หลา และยังมีชื่อในท้องถิ่นต่างๆ ของอินเดียอีกหลายชื่อที่ใช้เรียกการนุ่งผ้าแบบนี้ เทวรูปรุ่นแรกๆพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอายุประมาณ พ.ศ.1100 -1200 สลักเป็นรูปบุคคล นุ่งผ้ายาว มีริ้วผ้า แสดงถึงการโยงชายผ้าด้านหน้าไปเหน็บไว้ที่หลังปล่อยชายยาวกรอมเท้า การนุ่งผ้าแบบ โธตี ได้กลายมาถึงโจงกระเบนนั้นเป็นวัฒนธรรมนุ่งห่มร่วมกันของเอเชียใต้ (คืออินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ได้แก่ พม่า มอญ เขมร มลายู- คือโสร่ง) ไปจนถึงบางส่วนของแอฟริกา (ในคาบสมุทรโซมาลีเรียก Macawis) คือ นุ่งผ้าผืนเดียว พันรอบตัว แต่มีวิธีนุ่งและรูปแบบของผ้าแตกต่างกันไป หลายคนเข้าใจว่า โจงกระเบน เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาเขมร แต่ที่จริงคำนี้เป็นคำภาษาขอม ที่พูดกันมา กว่า 4,000 ปี ผมเขียนคำว่า โจงกระเบน ด้วยอักษรขอมมาให้ดู วันนี้เสนอภาษาขอมในภาษาไทย นำมาเล่าให้ฟัง จะนำมาเสนอไปเรื่อย ๆ เพราะมีเยอะมาก คนไทยจะได้เข้าใจถูกต้อง ตามความเป็นจริงเสียที วันนี้ นำเสนอมาเพียงเท่านี้ รอฟังคำต่อไปอีกมากมาย สวัสดีครับ ขอบคุณภาพจาก ผศ.ร.อ. วราวุธ ผลานันต์ เอื้อเฟื้อภาพถ่าย การนุ่งโจงกระเบน โดย ผศ.ร.อ.วราวุธ ผลานันต์ • การนุ่งโจงกระเบน โดย ร.อ.วราวุธ ผลานันต์